กระจกที่ช่วยเพิ่มความโปร่งโล่งให้กับบ้านที่ทุกคนเข้าใจนั้น แต่ความจริงแล้ว กระจกมีประโยชน์มากกว่าที่คิด และยังมีความแตกต่างกันไปตามประเภทการใช้งาน โดยเฉพาะในปัจจุบันที่เทคโนโลยีการผลิตกระจกได้พัฒนาไปอย่างมาก ทำให้มีกระจกหลากหลายประเภทที่ตอบโจทย์การใช้งานในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านความปลอดภัย การประหยัดพลังงาน หรือแม้แต่การตกแต่งเพื่อความสวยงาม ในบทความนี้จะพาคุณไปดูว่า กระจกมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทเหมาะสำหรับการใช้งานแบบไหนบ้าง
กระจกมีกี่ประเภท?
กระจกที่ใช้ในงานก่อสร้าง และตกแต่งอาคารนั้นมีหลากหลายประเภท แต่ละประเภทมีคุณสมบัติและการใช้งานที่แตกต่างกันไป ดังนี้
1. กระจกนิรภัยเทมเปอร์ (Tempered Glass)
กระจกนิรภัยเทมเปอร์ หรือกระจกอบที่หลาย ๆ คนรู้จักกัน ผลิตจากกระจกธรรมดาที่นำมาอบในอุณหภูมิที่สูงถึง 650 - 700 องศาเซลเซียส และนำมาเป่าให้เย็นด้วยลมแรงดันสูง จึงทำให้มีคุณสมบัติที่สามารถคงทนสูง รับแรงกระแทก แรงบีบอัดและสามารถต้านแรงลมได้ดี เหมาะสำหรับการใช้งานภายนอกอาคาร นอกจากนี้ ยังทนความร้อนได้สูงถึง 290 องศาเซลเซียส
2. กระจกลามิเนต (Laminated Glass)
กระจกลามิเนต คือกระจกนิรภัยที่ผลิตจากการนำกระจกเทมเปอร์ หรือกระจกธรรมดา 2 แผ่นมาประกบเข้าด้วยกัน แล้วติดเข้ากันด้วยวัสดุพิเศษ PVB (Polyvinyl Butyral) หรือ EVA (Ethylene Vinyl Acetate) โดยจะทำหน้าที่เป็นตัวฟิล์มคั่นตรงกลางระหว่างกระจก เมื่อกระจกแตก เศษกระจกจะไม่ร่วงหล่น แต่จะแตกเป็นลักษณะคล้ายใยแมงมุม จึงเหมาะสำหรับการติดตั้งในพื้นที่อาคารสูง และยังช่วยป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอกได้ดีอีกด้วย
3. กระจกฉนวนกันความร้อน (Insulated Glass)
กระจกฉนวนกันความร้อน หรือกระจกสองชั้น ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยป้องกันความร้อน และช่วยประหยัดพลังงานเป็นหลัก โดยจะผลิตจากการนำกระจกตั้งแต่ 2 แผ่นขึ้นไปมาประกันเข้าด้วยกัน โดยใช้เฟรมอลูมิเนียมหรือซิลิโคนคั่นกลางระหว่างกระจก และมีสารดูดความชื้นและฉนวน ช่วยป้องกันและถ่ายเทความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับการใช้งาน เช่น อาคารสำนักงาน โรงแรม ห้างสรรพสินค้าและบ้านพัก เป็นต้น
4. กระจกโฟลต (Float Glass)
กระจกโฟลต เป็นกระจกที่มีความโปร่งแสงสูง มีผิวเรียบสนิท ทำให้แสงส่องผ่านได้ดี โดยสามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ทำไปทำเป็นกระจกนิรภัยลามิเนต กระจกเงา กระจกดัดโค้ง กระจกพ่นทราย เป็นต้น
แต่กระโฟลตจะมีข้อควรระวังอยู่ คือไม่ทนทานต่ออุณหภูมิที่สูง และหากกระจกแตกจะมีลักษณะเป็นปากฉลาม ซึ่งมีความแหลมคม ไม่เหมาะสำหรับการติดตั้งในจุดที่เสี่ยงต่อการกระทบกระแทก หรืออาคารสูง จะเหมาะกับการนำไปใช้เป็น กระจกตู้โชว์ กระจกโต๊ะ หรือกระจกประดับตกแต่ง
5. กระจกสีตัดแสง (Heat Absorbing Glass)
กระจกสีตัดแสงเป็นกระจกที่พัฒนามาจากกระจกโฟลต โดยการเพิ่มส่วนผสมของโลหะออกไซด์เข้าไปในเนื้อกระจก ทำให้เกิดเฉดสีตามความต้องการ กระจกประเภทนี้มีคุณสมบัติพิเศษในการดูดกลืนพลังงานความร้อนที่ส่องมากระทบชั้นผิวกระจกได้ประมาณ 40 - 50% ยิ่งกระจกมีสีเข้มมากเท่าไร ค่าการดูดกลืนพลังงานความร้อนก็จะยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น นอกจากนี้ กระจกสีตัดแสงยังช่วยลดค่าแสงที่ส่องผ่านเข้ามา ทำให้ได้แสงที่นุ่มนวลสบายตาขึ้น สีที่เป็นที่นิยมใช้มากที่สุดคือสีเขียว เหมาะสำหรับใช้ใน อาคารสำนักงาน โรงงาน ห้างสรรพสินค้าหรือที่พักอาศัย
ประเภทกระจกที่นิยมนำมาใช้ในการติดตั้งประตู หน้าต่าง
สำหรับกระจกที่คนนิยมนำมาใช้ในการติดตั้งประตู หน้าต่าง ส่วนใหญ่จะนิยมและแนะนำให้ใช้กระจกลามิเนต เนื่องจากมีคุณสมบัติแข็งแรง ทนทานและมีความปลอดภัยสูง นอกจากนี้ ยังช่วยป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอกได้เป็นอย่างดี และช่วยป้องกันรังสียูวีและความร้อนจากด้านนนอกได้อีกด้วย เหมาะสำหรับที่ต้องการประหยัดพลังงานได้เป็นอย่างดี
หากมองหากระจกเพื่อนำมาติดตั้งที่บ้าน แนะนำให้เลือกกระจกที่มีคุณภาพ มีความแข็งแรงและทนทานสูง หากนำกระจกมาติดตั้งเป็นประตูกระจก กั้นห้องกระจก หรือกระจกบานเลื่อน แนะนำให้เลือกประตู และหน้าต่างที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณ ทั้งในด้านของความสวยงาม และความทนทานด้านการรับแรงลม ป้องกันน้ำ เพื่อให้ตอบโจทย์ที่อยู่อาศัยของคุณมากที่สุด
สรุป
กระจกมีกี่ประเภท กระจกมีให้เลือกใช้งานมากถึง 5 ประเภท ได้แก่ กระจกนิรภัยเทมเปอร์ กระจกลามิเนต กระจกฉนวนกันความร้อน กระจกโฟลตและกระจกสีตัดแสง ทั้งนี้แต่ละประเภทก็มีคุณสมบัติ จุดเด่นและฟังก์ชันการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป สามารถเลือกใช้งานได้ตามความเหมาะสม แต่ส่วนใหญ่ กระจกลามิเนตจะเป็นกระจกที่ได้รับความนิยมในการใช้งานมากที่สุด
เอบี แอนด์ ดับบลิว (AB&W) มีระบบประตูหน้าต่างอลูมิเนียมที่ครบวงจร ได้มาตรฐานความปลอดภัย ประสบการณ์ที่มีมาอย่างยาวนานกว่า 10 ปี ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบประตู หน้าต่าง อลูมิเนียม จนได้รับความไว้วางใจจากเจ้าของที่อยู่อาศัย สำนักงาน และโครงการบ้านจัดสรรมากมาย
หากสนใจสามารถติดต่อและสอบถามเราได้ที่
Tel.: 098 246 7545
Email: info@abnwi.com
Line: @abandw
Facebook Page: AB&W innovation
Comments